ม.4

ระดับชั้น ม.4

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                                   ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1                           ชื่อ โครงสร้างอะตอม                                         เวลาเรียน 4 ชั่วโมง          
เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ                                                                   
 

1. มาตรฐานการเรียนรู้
                มาตรฐานที่ ว3.1 เข้าใจสมบัติของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้          นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัด
                ว3.1 .4-6/2 วิเคราะห์และอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา

3. สาระสำคัญ
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน คือ จำนวนอิเล็กตรอนมากที่สุดที่มีได้ในแต่ละในระดับพลังงานจะมีค่าเท่ากับ 2n2 เมื่อ n คือ ตัวเลขแสดงระดับพลังงาน ระดับพลังงานตั้งแต่ 1-7 คือ K L M N O P Q ซึ่งอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน มีได้ไม่เกิน 8 อนุภาค จำนวนระดับพลังงานบอกเลขที่คาบ จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนบอกเลขที่หมู่ แต่ละระดับพลังงาน ประกอบด้วยพลังงานย่อยใช้ตัวอักษร s p d f ตามลำดับ ระดับพลังงานย่อย s มี 1 ออร์บิทอล 2 อิเล็กตรอน ระดับพลังงานย่อย p มี 3 ออร์บิทอล 6 อิเล็กตรอน ระดับพลังงานย่อย d มี 5 ออร์บิทอล 10 อิเล็กตรอน ระดับพลังงานย่อย f มี           7 ออร์บิทอล 14 อิเล็กตรอน

4. สาระการเรียนรู้
                1 ความรู้ (K) : การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
                2 ทักษะ/กระบวนการ (P) : การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ การอภิปราย การแปลความหมายข้อมูล และการลงข้อสรุปเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
                3 คุณลักษณะ (A) : ความสนใจใฝ่รู้ ความกระตือรือร้น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผลเกี่ยวกับข้อมูลในเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม   
                1. อธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆได้
            2. อธิบายสมบัติบางประการของธาตุจากอิเล็กตรอนที่บรรจุในระดับพลังงานนอกสุดได้
            3.อธิบายการจัดเรียงธาตุลงในตารางธาตุได้

6. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
1 ทวนเรื่องอนุภาคมูลฐานของอะตอมโดยยกตัวอย่างสัญลักษณ์นิวเคลียร์ให้นักเรียนร่วมอธิบาย
ขั้นที่ 2 สำรวจ และค้นหา (Exploration)
                2 ครูอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและพลังงานย่อยบนกระดานดำหน้าชั้นเรียน
          3 ยกตัวอย่างธาตุในหมู่ IA, IIA, IIIA, IVA, VA, VIA, VIIA และ VIIIA และร่วมกันแสดงวิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอน
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
4 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหาข้อสรุปในเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและพลังงานย่อย
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
5 สุ่มเลือกตัวแทนนักเรียนออกมาแสดงวิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและพลังงานย่อยบนกระดานดำหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation)
                6 ทำแบบฝึกหัดเรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
7. สื่อและแหล่งเรียนรู้
1 หนังสือเรียนเคมีพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
8. การวัดและการประเมินผล
               1. การตอบคำถามในชั้นเรียน
               2. ตรวจจากแบบฝึกหัด     


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                  ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4                                หน่วยการเรียนรู้ที่ 1           
ชื่อ โครงสร้างอะตอม                   เวลาเรียน 3 ชั่วโมง                                   เรื่อง เลขมวล เลขอะตอม และไอโซโทป                                                                        
 

1. มาตรฐานการเรียนรู้
                มาตรฐานที่ ว3.1 เข้าใจสมบัติของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัด
                ว 3.1 .4/1 สืบค้นและอธิบายโครงสร้างอะตอม และสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ

3. สาระสำคัญ
นักวิทยาศาสตร์ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ของอักษรตัวแรกของชื่อธาตุในภาษาอังกฤษ หรือภาษาละติน เป็นลัญลักษณ์แทนชื่อธาตุ ตัวเลขที่มุมล่างซ้ายมือของตัวอักษรแทนจำนวนโปรตอน (เลขอะตอม) และใช้ตัวเลขที่มุมบนซ้ายมือของตัวอักษรแทนจำนวนรวมของโปรตอนและนิวตรอนของธาตุแต่ละชนิด  (เลขมวล) เรียกสัญลักษณ์แบบนี้ว่าสัญลักษณ์นิวเคลียร์ เช่น 11H เป็นต้น ธาตุชนิดเดียวกันจะมีเลขอะตอมเหมือนกัน แต่เลขมวลต่างกันเรียกว่าเป็นไอโซโทปกัน

4. สาระการเรียนรู้
    1 ความรู้ (K) : เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
    2 ทักษะ/กระบวนการ (P) : การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ การอภิปราย การแปลความหมายข้อมูล และการลงข้อสรุปเรื่อง เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
    3 คุณลักษณะ (A) : ความสนใจใฝ่รู้ ความกระตือรือร้น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผลเกี่ยวกับข้อมูลในเรื่อง เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป

5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                1. บอกเลขอะตอม เลขมวล ของธาตุได้
                2. บอกสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของโอโซโทปของธาตุต่าง ๆ ได้
 6. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
1 ครูถามนักเรียนว่าในทางเคมี นักเรียนคิดว่าอะไรที่อนุภาคมีขนาดเล็กมากที่สุดให้นักเรียนร่วมกันลองตอบคำถาม
2 ครูซักถามนักเรียนว่า นอกจากอะตอมที่มีขนาดเล็กที่สุดแล้ว นักเรียนคิดว่ามีอะไรอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม ให้นักเรียนร่วมกันพิจารณา
ขั้นที่ 2 สำรวจ และค้นหา (Exploration)
3 ยกตัวอย่างสัญลักษณ์นิวเคลียร์ 5-6 ตัวอย่าง ให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาถึงอนุภาคมูลฐานของอะตอมที่แตกต่างกันของธาตุแต่ละชนิด
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
4. ครูอธิบาย เรื่อง เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
5 ยกตัวอย่างธาตุและให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ธาตุที่ยกตัวอย่างมีเลขอะตอม เลขมวลเท่ากับเท่าไร
6 ยกตัวอย่างจำนวนอิเล็กตรอน จำนวนนิวตรอน ของธาตุให้นักเรียนร่วมกันเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของไอโซโทปต่าง ๆ ของธาตุที่ยกตัวอย่าง
ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation)
                7 ทำแบบฝึกหัดเรื่องเลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
 7. สื่อและแหล่งเรียนรู้
1 หนังสือเรียนวิชาเคมีพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
8. การวัดและการประเมินผล
                1. การตอบคำถามในชั้นเรียน
                2. ตรวจจากแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียนวิชาเคมีพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                                   ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  1                         ชื่อ โครงสร้างอะตอม                   เวลาเรียน 3 ชั่วโมง          เรื่อง แบบจำลองอะตอม                                                                                                    
 

1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ว3.1 เข้าใจสมบัติของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร             สิ่งที่เรียนรู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัด
3.1 .4/1 สืบค้นและอธิบายโครงสร้างอะตอม และสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
3. สาระสำคัญ
                นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลจากการศึกษาโครงสร้างอะตอม สร้างแบบจำลองอะตอมแบบ       ต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น แบบจำลองอะตอมของ Democritus, John Dalton, Sir Joseph John Thomson, Lord Ernest Rutherford, Niels Bohr และ Sir Jame Chadwick
4. สาระการเรียนรู้
                การศึกษาเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม                    ของนักวิทยาศาสตร์ยุคต่าง ๆ แล้ว มีการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบหรือที่เรียกว่า โครงสร้างของอะตอม โดยเสนอเป็นแบบจำลองที่สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี หรือผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  บอกลักษณะแบบจำลองอะตอมได้
6. กิจกรรม
   ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
   1 ดูคลิปวีดีโอเรื่องวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
   2 ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุที่ต้องมีการศึกษาแบบจำลองอะตอม  
ขั้นที่ 2 สำรวจ และค้นหา (Exploration)
   3 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ โดยจะมีเนื้อทั้งหมด                   5 ส่วน คือ แบบจำลองอะตอมของดอลตัน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมของโบร์ และแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยใช้เวลา 5 นาที
    4 จากนั้นนักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน เพื่อทำงาน ซักถาม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) สมาชิกทุก ๆ คนร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้เวลา 10 นาที
    5 หลังจากนั้นนักเรียนเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน (Home group) ของตน เพื่อผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อย 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ (10 นาที)
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
    6 เลือกตัวแทนนักเรียนออกมาอภิปรายเรื่องแบบจำลองอะตอมหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
    7 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องแบบจำลองอะตอม
ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation)
    8 ทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนวิชาเคมีพื้นฐาน  
7. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
    1. หนังสือเรียนเคมีพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
8. การวัดและประเมินผล
    1. การตอบคำถามในชั้นเรียน
    2. สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม
    3. ตรวจจากแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียนวิชาเคมีพื้นฐาน  

วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์