ม.4

ระดับชั้น ม.4

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                                   ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  1                         ชื่อ โครงสร้างอะตอม                   เวลาเรียน 3 ชั่วโมง          เรื่อง แบบจำลองอะตอม                                                                                                    
 

1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ว3.1 เข้าใจสมบัติของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร             สิ่งที่เรียนรู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัด
3.1 .4/1 สืบค้นและอธิบายโครงสร้างอะตอม และสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
3. สาระสำคัญ
                นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลจากการศึกษาโครงสร้างอะตอม สร้างแบบจำลองอะตอมแบบ       ต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น แบบจำลองอะตอมของ Democritus, John Dalton, Sir Joseph John Thomson, Lord Ernest Rutherford, Niels Bohr และ Sir Jame Chadwick
4. สาระการเรียนรู้
                การศึกษาเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม                    ของนักวิทยาศาสตร์ยุคต่าง ๆ แล้ว มีการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบหรือที่เรียกว่า โครงสร้างของอะตอม โดยเสนอเป็นแบบจำลองที่สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี หรือผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  บอกลักษณะแบบจำลองอะตอมได้
6. กิจกรรม
   ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
   1 ดูคลิปวีดีโอเรื่องวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
   2 ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุที่ต้องมีการศึกษาแบบจำลองอะตอม  
ขั้นที่ 2 สำรวจ และค้นหา (Exploration)
   3 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ โดยจะมีเนื้อทั้งหมด                   5 ส่วน คือ แบบจำลองอะตอมของดอลตัน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมของโบร์ และแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยใช้เวลา 5 นาที
    4 จากนั้นนักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน เพื่อทำงาน ซักถาม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) สมาชิกทุก ๆ คนร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้เวลา 10 นาที
    5 หลังจากนั้นนักเรียนเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน (Home group) ของตน เพื่อผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อย 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ (10 นาที)
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
    6 เลือกตัวแทนนักเรียนออกมาอภิปรายเรื่องแบบจำลองอะตอมหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
    7 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องแบบจำลองอะตอม
ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation)
    8 ทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนวิชาเคมีพื้นฐาน  
7. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
    1. หนังสือเรียนเคมีพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
8. การวัดและประเมินผล
    1. การตอบคำถามในชั้นเรียน
    2. สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม
    3. ตรวจจากแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียนวิชาเคมีพื้นฐาน  

วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์